วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

อาณาจักรอยุธยา


         

            เป็นอาณาจักรของไทยในอดีต มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ว่าก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือ เมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยาเป็นเมืองที่มีความเจริญทางการเมืองการปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครอง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

ประวัติ

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

            ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18แล้ว มีเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิ ละโว้, อยุธยา, สุพรรณบุรี, นครปฐม เป็นต้น ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอม และสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทอง เจ้าเมืองอู่ทองซึ่งขณะนั้นเกิดโรคห่าระบาดและขาดแคลนน้ำ จึงทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ พร้อมกันนั้นต้องเป็นเมืองที่มีนำไหลเวียนอยู่ตลอด ครั้งแรกพระองค์ทรงประทับที่ตำบลเวียงเหล็กเพื่อดูชั้นเชิงเป็นเวลากว่า 3 ปี และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[1] ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[2] มีชื่อตามพงศาวดารว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน ด้วยบริเวณนั้นมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก และทิศใต้, แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาพระองค์ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย กรุงศรีอยุธยาจึงมีน้ำเป็นปราการธรรมชาติให้ปลอดภัยจากข้าศึก นอกจากนี้ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังห่างจากปากแม่น้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆอีกหลายเมืองในบริเวณเดียวกัน ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆในอาณาจักร รวมทั้งอาณาจักรใกล้เคียงอีกด้วย


การขยายตัวของอาณาจักร

        กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธมได้อย่างเด็ดขาดในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร


หลักฐานทางโบราณคดี

          หลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดที่สุดว่าพระเจ้าอู่ทองควรจะสืบเชื้อสายมาจากลพบุรี คือ งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตันที่มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรีอยู่มาก เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะซึ่งมีลักษณะแผนผังของวัดและตัวปรางค์ คล้ายกับปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระพุทธรูปมีพระพักตร์คล้ายกับประติมากรรมขอม และระบบการปกครองก็มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบเทวราชา

         นอกจากนี้บริเวณเมืองอยุธยา ยังมีแม่น้ำป่าสักที่มีไหลผ่านเมืองศรีเทพที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ และแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมกับเมืองที่มีความเจริญซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป เช่น อาณาจักรสุโขทัย หริภุญไชย ล้านนา และเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้คงเคยเจริญภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน

         เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และจะมีน้ำจากทางเหนือท่วมไหลลงมาท่วมทุกปีซึ่งน้ำจะได้พัดเอาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาคงเป็นเมืองท่าและจุดแวะพักสินค้าด้วย เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่อ่าวไทยไหลผ่าน จึงทำให้ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญจนเริ่มมีความเป็นเมือง สันนิษฐานว่าคงเมืองอยุธยาอาจเจริญขึ้นในช่วงทวารวดีตอนปลายแล้วดังพบหลักฐานทางศิลปกรรมคือเจดีย์วัดขุนใจเมือง ซึ่งมีลักษณะศิลปะและการก่อสร้างแบบศิลปะทวารวดี คือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนองค์สูงใหญ่ เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บริเวณถนนใหญ่ในตัวเกาะอยุธยา

         และเมืองอยุธยาในช่วงแรกคงเจริญภายใต้อิทธิพลอำนาจของเมืองลพบุรี โดยอาจเป็นเมืองลูกหลวงดังมีข้อความปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า ?เมืองรามเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้? เมืองรามนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอโยธยาหรืออยุธยานั่นเอง ต่อมาเมืองลพบุรีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากอาณาจักรเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ พศว.ที่ 16-17 เมืองอยุธยาก็คงต้องได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรด้วยแน่นอน ถึงแม้ว่าใน พศว.ที่ 18 จะมีการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กษัตริย์และผู้คนบริเวณเมืองลพบุรีก็คงมิได้หายไปไหน จึงอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์จากเมืองลพบุรี อาจย้ายศูนย์กลางเมืองจากลพบุรีมาอยู่บริเวณเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยและอยากได้เมืองใหม่ที่มีชัยภูมิที่ดีกว่านี้

        กษัตริย์ลพบุรีองค์ที่คิดย้ายนี้ก็อาจเป็นต้นวงศ์พระเจ้าอู่ทอง โดยเมืองที่ย้ายมาระยะแรกกระจายตัวอยู่สองข้างของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่มีอายุก่อน พ.ศ. 1893 เช่น มีการสร้างพระเจ้าพนัญเชิงซึ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปีพ.ศ. 1867 สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัดที่พระเจ้าพนัญเชิงประดิษฐานอยู่คงเป็นวัดขนาดใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณนี้และคงเป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยก่อน ปี พ.ศ. 1893 แต่พื้นที่รอบบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าน้ำ จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ทำให้กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีการคิดที่จะสร้างศูนย์กลางของเมืองใหม่ กษัตริย์พระองค์นั้นอาจเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งพระองค์ก็ได้เลือกพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้มาสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาตัวเองในชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาจักรอยุธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หากพิจารณาจากพื้นที่บริเวณที่เป็นเกาะเมืองอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลือกสร้างอาณาจักรอยุธยาที่มีความมั่นคงและใหญ่โต

       ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดีเห็นว่า ควรมีการขุดค้นที่บริเวณสองข้างของแม่น้ำทั้ง 3 สายที่ไหลผ่านเมืองอยุธยา และบริเวณพื้นที่จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากบริเวณนี้มีงานศิลปกรรมคือพระประธานที่วัดพนัญเชิงที่มีอายุการก่อสร้างปี พ.ศ. 1867 ซึ่งเก่ากว่าปีพ.ศ.ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา เพื่อหาข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้

       จึงอาจสรุปได้ว่า กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. 1893 แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 1893 คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวังดังความเห็นของอ.ศรีศักร วัลิโภดม ก็เป็นได้

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาณาจักรทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี  (พุทธศัตวรรษที่ 11  16)   เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำ
เจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย  เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่
มี เมืองนครปฐม เป็นศูนย์กลาง หลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น และ หลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง)  พ.ศ. 1150  ได้กล่าว
ไว้ในจดเหตุของท่านว่า  มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (พม่า)  และอิสานปุระ (เขมร)
 ชื่อ โดโลปอดี้ (ทวารวดี)  และอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้าง
ตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860  1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่
ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่องไปทางภาคะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ 
                                            ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิได้ครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระของอาณาจักรฟูนัน (หรือฟูนาน)  และอาณาจักรเจนละ (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ 11 นั้น  ได้มีชนชาติหนึ่งที่แตกต่างกับชาวเจนละ  ในด้านศาสนาและศิลปกรรม  ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูน
                                            จดหมายเหตุของภิกษุจีนชื่อ เหี้ยนจั๋ง หรือ พระถังซัมจั๋ง (Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. 1172  1188  และพระภิกษุจีนชื่อ อี้จิง (I-Sing)  ได้เดินทางไปอินเดียทางทะเลในช่วงเวลาต่อมานั้น  ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้  หรือ จุยล่อพัดดี้ (ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร (อยู่ในพม่า) ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ (อยู่ในเขมร)  ปัจจุบันคือ ส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
                                            พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึง
อาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา 5 เดือน
                                            ในสมัยแรกๆ ได้มีการสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราว ๆ พ.ศ. 300  เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคย
เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11  16)  ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือปรากฎ
เป็นโบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน  วัดพระประโทนเจดีย์  วัดพระเมรุ  วัดพระงาม และวัดดอยยาหอม เป็นต้น   โบราณสถานที่ค้นพบ
ล้วนเป็นฝีมือประณีต งดงาม มีเครื่องประดบร่างกายสตรีทำด้วยดีบุก เงิน และทอง รูปปูนปั้น  มีหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่
แสดงถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น จีน  และที่จังหวัดสุพรรณบุรี  สิงห์บุรี  และชัยนาท ได้พบเหรียญเงินที่มีจารึก
 ทวารวดี ประทับอยู่ด้วย
                                            นครปฐมมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์  เพราะปรากฏว่าได้พบปราสาทราชวังเหลือซากอยู่ เช่น ตรงเนินปราสาทในพระราชวังสนามจันทร์   นครปฐมเป็นเมืองที่มีการทำเงินขึ้นใช้เอง มีการค้นพบหลักฐาน เงินตราสมัยนั้นหลายรูปแบบ  เช่น รูปสังข์ ประสาท  ตราแพะ ตราปรูณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม)    จึงเป็นสิ่งยืนยันว่า อาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรืองมากอาณาจักรหนึ่ง
                                            นอกจากนี้ได้มีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญ ในบริเวณจังหวัดนครปฐม  สุพรณณบุรี  สิงห์บุรี  ชัยนาท  ลพบุรี  และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าชาวมอญหรือคนที่พูดภาษาตระกูลมอญ  เขมร  เป็นเจ้าของอารยธรรมของทวารวดี  และการที่อาณาจักร ทวารวดีตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำแม่กลอง  และอยู่ใกล้ทะเลทำให้มีพ่อค้าต่างชาติ เช่น อินเดีย เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ทวารวดีได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนแบบแผนการปกครองจากอินเดีย  เกิดการผสมผสานจนกลายเป็นอารยธรรมทวารวดี และได้แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป เช่นที่ เมืองนครชัยศรี (นครปฐม)  เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี)  เมืองละโว้ (ลพบุรี)  เมืองศรีเทพ (เพชรบูรณ์)  เมืองฟาแดดสงยาง (กาฬสินธุ์)  เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น
                                            ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง  เช่น ด้านการปกครอง  รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์ สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเปป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง
                                                หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11  13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม.  พบที่
นนคปฐม และอู่ทอง พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า ศรีทวารวดีศวร  และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้ชื่อได้ว่าชนชาติมอญโบราณได้
ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียก ทวาราวดี)  ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ  และมีชุมชนเมืองสมัยทวารวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่
 เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในกลุ่มแม่น้ำท่าจีน)  เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)
 เมืองพงตึก (จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองละโว้ (จังหวัดลพบุรี ในลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองคูบัว (จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำ
เมืองอู่ตะเภา (บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)  เมืองบ้านด้าย (ต.หนองเต่า อ.เมือง จ.อุทัยธี ในแควตากแดด)
 เมืองซับจำปา (บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองขีดขิน (อยู่ในจังหวัดสระบุรี)  และบ้านคูเมือง (ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัด
นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง  เช่น  ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอ
บ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นต้น
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน (ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)  เมืองบึงโคกช้าง (ต.ไผ่เขียว อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ในแควตากแดด ลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง)  เมืองศรีเทพ (จ.เพชรบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก)  เมืองหริภุญชัย (จ.ลำพูน ลุ่มแม่น้ำปิง)  และเมืองบน (อ.พยุหคีรี จ.นครสวรรค์  ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ในภาคตะวันออก มีเมืองโบราณสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11  18 อยู่ที่เมืองพระรถ (ต.หน้าพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ซึ่งค้นพบถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า)  มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล  ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ 15  21 (อยู่ที่ ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี  ลุ่มแม่น้ำบางปะกง)  ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีนและญี่ปุ่น จากเตาอะริตะแบบอิมาริ  อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22  และติดต่ดถึงเมืองสมัยทวารวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี)  เมืองดงละคร (จ.นครนายก)  เมืองท้าวอุทัย  และบ้านคูเมือง (จ.ฉะเชิงเทรา)
                                            ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจึงเป็นดินแดนของชนชาติมอญโบราณ  มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี)  กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไปถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.1100 พระนางจามเทวีราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ (ลพบุรี)  ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อว่าบรรจุพระพบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย  เมื่อพุทธศตวรรษที่ 3  4และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ  บาลี สันสกฤต และภาษามอญ  ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียงพบจารึกภาษามอญอักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)  และพบจารึกมอญที่ลำพูน อายุราว พ.ศ. 1628  (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
                                            สำหรับเมืองอู่ทองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน เดิมเป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัยปี พ.ศ. 600 1600 จำนวนมาก  นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่ง เช่น
                                            แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอดช้างดิน ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดี
เป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคนเล่นดนตรี
ชนิดต่างๆ เป็นต้น เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าเมืองอู่ทองมีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
                                            เมืองนครไชยศรีโบราณ ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุประโทณ จังหวัดนครปฐม และพบคูเมืองโบราณรูปสีเหลี่ยม
ขนาด 3,600 x 2,000 เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออไปตัดคลองพระประโทณ  ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด
บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 
หลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้นพบที่ วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง (หรือฟ้าแดดสูงยาง)  อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์  ใกล้แม่น้ำซี  ได้ค้นพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว 1,200 ปี มีอายุเก่าแก่
กว่าสมัยนครวัดของอาณาจักรขอม  ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติโดยได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะของอินเดีย  และได้พบ
เสมหินบางแท่งมีจารึกอัการปัลลวะของอินเดียด้วย
                                            สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า พระเจ้าอนุรุทรมหาราช
แห่งเมืองพุกามประเทศพม่า ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรทวารวดี จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป
                                            ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต ใน พ.ศ.1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลงทำหให้บรรดาเมือง
ประเทศราชที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ  ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวี พระธิดาขอมเป็นมเหสี และได้รับพระนามว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้
ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม และให้พ่อขุนบางกลางหาว สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นอิสระจาก
การปกครองของขอม
                                            อาณาจักรทวารวดีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 200 ปี  จีงค่อยๆ เสื่อมลง  พวกขอมขณะนั้นกำลังรุ่งเรืองก็ถือโอกาส
ตีเมืองทวารวดี ที่ละเมืองสองเมือง  จนถึง พ.ศ. 1500 อาณาจักรทวารวดีก็เสื่อมลง และตกอยู่ในอำนาจของพวกขอม  พวกขอมได้กวาดต้อนผู้คนไป
เป็นเชลย นำไปใช้เป็นทาสทำงานต่างๆ จนถึง พ.ศ. 1800 คนไทยในหัวเมืองต่างๆ ในแคว้นสุวรรณภูมิ เช่น ลพบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี
ได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองจากขอมได้สำเร็จ  แต่เมืองนครปฐมได้กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองที่ไหล
ผ่านเมืองทวารวดีได้เปลี่ยนทิศทางใหม่  ไหลผ่านจากตัวเมืองไปมาก จนทำให้นครปฐม (ทวารวดี) เป็นที่ดอนขึ้น ไม่เหมาะที่จะทำไร่ทำนา  ผู้คนจึง
อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในเมืองอื่น  

อาณาจักรล้านนา




 อาณาจักรล้านนา   เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839  เพื่อ
ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระองค์  และได้ดำรงอยู่ต่อมา  600  ปีเศษจนถึง
พ.ศ. 2442  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศยกเลิกหัวเมืองประเทศราชให้อาณาจักรล้านนา
ซึ่งอยู่ในฐานะเมืองประเทศราชเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ
                                            ผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนาได้แก่ พญามังราย (พ.ศ. 1782 – 1854)  ซึ่งตามตำนานพื้นเมือง
เชียงใหม่กล่าวว่า  เป็นโอรสของลาวเมง กษัตริย์องค์ที่ 24  แห่งแคว้นหิรัญนคร หรือเงินยางเชียงแสน  พระมารดาคือ
นางอั้วมิ่งจามเมือง หรือ นางเทพคำข่าย  ซึ่งเป็นธิดาของท้าวรุ่งแก้นชาย กษัตริย์ไทลื้อแห่งเมืองเชียงรุ้งเขตสิบสองปันนา
 พญามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782  ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคตก็ได้เสวยราชย์แทนใน พ.ศ. 1804  เป็นกษัตริย์ราชวงศ์
ลวจังกราชองค์ที่ 25 ซึ่งเป็นองค์สุดท้าย
                                            หลังจากขึ้นครองราชแล้ว พญามังรายมีประสงค์จะสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่จึงทรงรวบรวม
เมืองต่างๆ เข้าไว้ในอำนาจ และทรงสร้างเมืองใหม่และย้ายราชธานีมายังเมืองที่สร้างใหม่ตามลำดับดังนี้  พ.ศ.1805
 สร้างเมืองเชียงราย  พ.ศ.1816 สร้างเมืองฝาง (อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน)  พ.ศ. 1829 สร้างเวียงกุมกาม (อยู่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่)
                                            เมื่อรวบรวมเมืองทางตอนบนในลุ่มแม่น้ำกกได้เรียบร้อยแล้ว พญามังรายก็ขยายอำนาจลงมาทางใต้ ลงสู่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน  ทรงใช้อุบายส่งคนไปเป็นไส้ศึกในแคว้นหริภุญชัยนานถึง  7  ปี  คนของพระยามังรายยุยงชาวหริภุญชัยให้กระด้างกระเดื่องต่อพญาญีบา กษัตริย์แห่งหริภุญชัยได้สำเร็จ พญามังรายจึงยึดเมืองหริภุญชัยได้โดยง่ายเมื่อ พ.ศ. 1835
                                            ต่อมาพญามังรายทรงเห็นว่า พื้นที่ระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และดอยสุเทพมีชัยภูมิเหมาะสมจึงสร้างราชธานีใหม่ขึ้น  ขนานนามว่า  “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”   ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอาณาจักรล้านนา  และพญามังรายทรงเป็นกษัตริย์ของราชวงศ์มังรายแห่งล้านนา
                                            พญามังรายแห่งล้านนา พญางำเมืองแห่งพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย  เป็นศิษย์ร่วมสำนักนักเรียนเดียวกันที่เมืองละโว้  และเป็นสหายร่วมสาบานกัน เมื่อจะสร้างเมืองเชียงใหม่พญามังรายได้เชิญสหายทั้งสองพระองค์มาปรึกษาหารือด้วย  การที่กษัตริย์ชาวไทย  3  พระองค์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันเช่นนี้ ทำให้รัฐของคนไทยมีความมั่นคงและสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้ เพราะไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง  และเพื่อป้องกันการรุกรานของชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโก (เจ็งกีสข่าน) ที่ขยายอำนาจลงมาในภูมิภาคนี้
                                            พญามังรายทรงควบคุมเมืองต่างๆ ให้อยู่ในอำนาจได้อย่างสมบูรณ์  อาณาเขตล้านนาในสมัยพญามังราย ทิศเหนือคือเชียงรุ่ง  เชียงตุง  ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง  ทิศใต้ถึงลำปาง  ทิศตะวันตกถึงแม่น้ำสาละวิน
                                            ทางด้านการก่อสร้างเพื่อสาธารณะประโยชน์ พญามังรายทรงสร้างตลาดแลสะพานข้ามแม่น้ำปิงที่เวียงกุมกาม  สร้างเหมืองฝายหลายแห่งเพื่อทดน้ำไปใช้ในการเกษตร  สร้างทำนบกั้นน้ำชนาดใหญ่ยาวถึง  30  กิโลเมตรเพื่อป้องกันน้ำท่วมเวียงกุมกาม  ซึ่งถือเป็นทำ “ชลประทาน” ครั้งแรกของชนชาติไทย
                                            ทางด้านการปกครอง เชียงใหม่มีฐานเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร  พญามังรายทรงบริหารราชการบ้านเมือง
ที่เชียงใหม่  ตลอดพระชมน์ชีพ ส่วนเมืองลำพูนทรงแต่งตั้งอ้ายฟ้าปกครอง  โดยอยู่ในฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ ซึ่งเชียงใหม่


ปกครองอย่างใกล้ชิดเสมือนเมืองแฝด ระยะนี้ลำพูนเป็นศูนย์กลางทางศาสนา  ขณะที่เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง  ส่วน
เมืองเชียงรายมีความสำคัญอับรองจากเมืองเชียงใหม่  พญามังรายจึงส่งขุนคราม โอรสไปปกครอง  สมัยพญามังรายพบว่าดินแดนล้านนา
 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ล้านนาตอนบน (แคว้นโยนก)  มีเชียงรายเป็นศูนย์กลาง  ส่วนล้านนาตอนล่าง มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง  ลักษณะเช่น
นี้สืบมาอีกหลายสมัย นอกจากนั้นเมืองอื่นๆ จะส่งโอรสหรือญาติตลอดจนขุนนางที่ไว้วางใจไปปกครอง ตามลำดับความสำคัญของเมือง
                                            พญามังรายได้ ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองครองเรียกว่า “กฏหมายมังรายศาสตร์”  นับเป็นกฏหมายที่เป็นลายลักษ์อักษรฉบับแรกของไทย  และยังได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ่นใช้เอง คือ “อักษรไทยยวน” หรือ “ไทยโยนก” นับว่าการเริ่มต้นของตัวอักษรของชนชาติไทยเป็นครังแรก  ปัจจุบันตัวอักษรไทยยวน ได้กลายสภาพเป็น “อักษรคำเมือง” ของชาวพื้นบ้านในภาคเหนือของประเทศไทย และยังได้มีการนำเอาพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่อย่างกว้างขวางในอาณาจักรล้านนา นับเป็นการเริ่มต้นของพุทธศาสนาของชนชาติไทย
                                            พญามังรายได้รับอิทธิพลพระพุทะศาสนาจากหริภุญไชย พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์กู่คำ เลียนแบบเจดีย์กู่กุด (อยู่ที่ลำพูน) สร้างวัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) พร้อมกับสร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธรูป และกัลปนาที่ดินและข้าพระด้วย
                                            พญามังรายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อพ่อขันรามคำแหง และพญางำเมือง (เจ้าเมืองพะเยา)  กษัตริย์ทั้งสามพระองค์อยู่
ในฐานะพระสหายร่วมน้ำสาบาน การเป็นไมตรีที่ดีต่อกันนั้น ก็เพื่อร่วมมือกันต่อต้านภัยจากมองโกล  ซึ่งกำลังขยายอำนาจในเวลานั้น  กล่าวคือ
 กองทัพมองโกลตีได้น่านเจ้า พ.ศ. 1796  ได้ฮานอย(เวียตนาม) พ.ศ. 1800  และได้พุกาม (พม่า) พ.ศ. 1830  ซึ่งในปีที่พุกามแตก กษัตริย์ทั้ง
สามพระองค์ได้ทำสัญญาเป็นไมตรีกัน
                                            ในการป้องกันภัยจากมองโกล  นอกจากพญามังรายจะใช้นโยบายเป็นไมตรีกับสุโขทัยและพะเยาแล้ว ยังใช้การทำ
สงครามอีกด้วย  การทำสงครามกับมองโกลมีข้อสังเกตว่าจะเกิดขึ้นหลังก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เข้าใจว่าเป็นช่วงอิทธิพลของมองโกลลดลงอย่าง
มาก หลังจากสิ้นพระชนม์ของกุลไลข่าน ในปี พ.ศ. 1837
                                            พญาไชยสงคราม (พ.ศ. 1854 – 1868)  ได้เริ่มประสบปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติจากขุนเครือพระอนุชา ซึ่งสามารถ
ตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ (พญาไชยสงครามหลังจากขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ย้ายไปประทับที่เชียงราย ) แต่ก็ถูกกำจัดไปได้โดยท้าวน้ำท่วม  โอรสของ
พญาไชยสงคราม ซึ่งยกทัพมาจากเมืองฝางตีเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาได้ จึงได้รับการแต่งตั้งให้ครองเมืองเชียงใหม่  ต่อมาพญาไชยสงครามระแวง
ว่าท้าวน้ำท่วมจะเป็นกบฏ จึงส่งไปครองเมืองเชียงตุง แล้วให้พญาแสนพูดูแลเมืองเชียงใหม่แทน  นับเป็นสมัยที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ถูก
ท้าทายจากพระบรมวงศานุวงศ์เป็นครั้งแรก
                                            พญาแสนพู (พ.ศ.1868 – 1877)  พระองค์แต่งตั้งให้ท้าวคำฟู ซึ่งเป็นพระราชโอรสไปครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์ยังคงประทับอยู่ที่เชียงราย  ในปี พ.ศ.1870 ได้สร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง มีเป้าหมายเพื่อป้องกันศึกด้านเหนือ เพราะเชียงแสนตั้งริมแม่น้ำโขงและใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ  หลังจากสร้างเชียงแสนแล้ว พญาแสนพูประทับที่เมืองเชียงรายตลอดรัชสมัย 
                                            พญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879)  พญาคำฟูประทับที่เมืองเชียงแสน ส่วนเมืองเชียงใหม่ทรงแต่งตั้งให้ท้าวผายู ปกครองแทน อาณาจักรล้านนาในสมัยนี้มีความเข้มแข็งเห็นได้จากนโยบายขยายอาณาเขตไปทางตะวันออก โดยเริ่มทำสงครามกับพะเยา สามารถยึดเมืองพะเยาได้ เมืองพะเยาจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนานับแต่นั้นมา หลังจากยึดพะเยาได้แล้ว พญาคำฟูขยายอำนาจไปยังเมืองแพร่แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
                                            พญาผายู  (พ.ศ.1879 – 1898)  เสนาอำมาตย์ทั้งหลายอภิเษกท้าวยายูเป็นกษัตริย์ล้านนา พญาผายูไม่เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงแสน ทรงประทั้บที่เชียงใหม่ เหตุที่ย้ายที่ประทับลงมาเชียงใหม่ อาจเป็นเพราะเขตทางตอนบนมีความมั่นคง โดยสามารถสร้างเมืองเชียงแสนเป็นปราการป้องกันศึกฮ่อได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถผนกพะเยาได้ ขณะเดียวกั้นพญาผายูทรงสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเชียงของในเขตลุ่มน้ำกก  โดยการอภิเษกกับพระนางจิตราเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองเชียงของ   พญาผายูทรงสร้างวัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ให้เป็นวัดสำคัญของเชียงใหม่
                                            พระเจ้ากือนา (พ.ศ.1898 – 1928)  พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและทรงปรีชาสามารถในวิชาศิลปะศาสตร์ทุกแขนง  บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ทั่วไป  เหตุการณ์สำคัญในสมัยพญากือนา คือ การรับเอาพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์จากสุโขทัย  โดยก่อนหน้านั้นพระพุทธศาสนาสืบทอดจากหริภุญไชย และยังดั้บอิทธิพลจากหงสาวดีและอังวะ ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิม
                                            พญากือนารับพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์จากสุโขทัย  โดยมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุอรัญญวาสีมาอยู่ที่เชียงใหม่  และสามารถทำสังฆกรรมได้ทั้งหมด พญากือนาทรงอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัย ใน พ.ศ. 1912 พระสุมนเถระเดินทางถึงเมืองหริภุญไชยพร้อมทั้งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย  พระสุมนเถระ จำพรรษาที่วัดพระยืนในเมืองหริภุญไชย พญากือนาทรงเลือมใสศรัทธาในพระสุมนเถระมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าพระภิกษุอรัญญวาสีเป็นพระภิกษุที่มีความรู้ลึกซึ้งในพระพุทธศาสนาและถือกันว่าพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เป็นพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ เพราะทการสังฆกรรมถูกต้องมาแต่โบราณ  ดังนั้นพญากือนาจึงอาราธนาพระนิกายเดิม อันสืบเนื่องมาจากสมัยพระนางจามเทวีให้บวชใหม่ถึง 8,400 รูป
                                            ใน พ.ศ. 1914 พญากือนาทรงสร้างวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอกในอุทธยานป่าไม้พะยอม  เพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระสุมนเถระ  และได้สร้างเวียงสวนดอกให้เป็นเวียงพระธาตุ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1916 พญากือนาโปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนเถระอัญเชิญมาจากสุโขทัย  โดยประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ และวัดบุปผาราม พระสุมนเถรจำพรรษาอยู่ทีวัดบุปผารามตลอดจนมรณภาพใน พ.ศ.1932 นับว่าพระสุมนเถระมีบทบาทสำคัญต่อการวางรากฐานพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในเชียงใหม่
                                            วัดบุปผารามเป็นศูนย์กลางของพุทธศษสนานิกายลังกาวงศ์ หรือเรียกว่า นิกายวัดสวนดอก หรือนิกายรามัญ เนื่องจากพระสุมนเถระได้บวชเรียนจากสำนักพระมหาสวามีอุทุมพรที่เมืองเมาะตะมะในรามัญประเทศ  พญากือนาทรงสนับสนุนให้พระภิกษุจากเมืองต่างๆ เช่น เชียงแสน เชียงตุง เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนา ที่วัดบุปผาราม เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางของศาสนาแทนหริภุญไชย


                                            พญาสามประหญาฝั่งแกน (พ.ศ. 1945 – 1985)   เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ท้าวยี่กุมกาม เจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเป็นพระเชษฐาไม่พอใจที่ไม่ได้ครองราชย์ จึงขอกองทัพจากสุโขทัยมาช่วยรบแย่งเมืองเชียงใหม่  ผลท้าวยี่กุมกามพ่ายแพ้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองสุโขทัย   หลังจากนั้นพญาสามประหญาฝั่งแกนต้องทำสงครามกับฮ่อ  สาเหตุเพราะฮ่อไม่พอใจที่ล้านนาไม่ส่งส่วยให้  พญาสามประหญาฝั่งแกนเกณฑ์ทัพจากเชียงใหม่ เชียงแสน ฝาง เชียงราย เชียงของ และพะเยา เข้าทำศึกกับฮ่อ นับเป็นสงครามใหญ่ กองทัพฮ่อพ่ายแพ้ ถูกกองทัพล้านนาติดตามขับไล่จนสุดดินแดนสิบสองปันนา และยังได้ตั้งเมืองยองเป็นเมืองขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ ให้เป็นเมืองหน้าด่านตอนบนเพื่อต่อต้านฮ่อ


                                            ในสมัยพระยาติโลกราช (พ.ศ.1948 – 2030)  เป็นโอรสอันดับที่ 6 ของพญาประหญาสามฝั่งแกน  เดิมชื่อ ท้าวลก ครองเมืองพร้าว   เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วทรงสร้างความมั่นคงภายในอาณาจักรล้านนา โดยใช้เวลาประมาณ 10 ปีสร้างอาณาจักรล้านนาให้เข็มแข็ง ดังจะเห็นได้จากการขยายอำนาจลงทางใต้ ทรงทำสงครามกับอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ทรงแก้ไขการขยายอำนาจของพระเจ้าติโลกราช โดยเสด็จขึ้นครองเมืองพิษณุโลก ในพ.ศ. 2006  ในการทำสงครามกับล้านนา พระบรมไตรโลกนาถนอกจากจะทรงใช้กำลังทหารโดยตรงแล้ว ยังใช้พุทธศาสนาและไสยศาสตร์เป็นเครื่องมือ แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนในสมัยนั้นมีความเชื่อในเรื่องของไสยศาสตร์มาก จนถึงปี พ.ศ. 2018 อยุธยากับล้านนาก็เป็นไมตรีกัน


                                            พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก  พระองค์ทรงเลื่อมใสและทำนุบำรุงพุทธศษสนานิกายสีหล  โดยพระองค์อาราธนาพระมหาเมธังกร พระภิกษุนิกายสีหลจากเมืองลำพูนมาจำพรรษาที่วัดราชมณเฑียร  และทรงสถาปนาให้พระมหาเมธังกรเป็นพระมหาสวามี และพระองค์ทรงผนวชชั่วคราว ณ วัดป่าแดงมหาวิหารอีกด้วย  การสนับสนุนคณะสงฆ์นิกายสีหลทำให้พุทธศาสนาลังกาวงศ์ใหม่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากเป็นที่เลื่อมใสของผู้คน และมีพระภิกษุบวชใหม่ในนิกายสีหลเพิ่มขึ้น นิกายสีหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี และการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่ถูกต้อง ทำให้การศึกษาเล่าเรียนด้านปริยัติธรรมเจริญสูง พระเจ้าติโลกราชทรงยกย่องภิกษุที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก พระภิกษุในสมัยนี้ที่มีชื่อเสียงเช่น พระธรรมทิน พระญาณกิตติเถระ  พระสิริมังคลาจารย์ เป็นต้น


                                            ในปีพ.ศ. 2020 ทรงได้โปรดเกล้าให้มีการทำ สังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นในปี พ.ศ.2020 ที่วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ใช้เวลา 1 ปีจึงสำเร็จ  ถือเป็นหลักปฏิบัติหลักปฏิบัติของพระสงฆ์นิกายต่างๆ ในล้านนาสืบมา


                                            พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างวัดหลายวัด เช่น วัดมหาโพธาราม วัดราชมณเฑียร วัดป่าตาล วัดป่าแดงมหาวิหาร เป็นต้น  ทรงต่อเดิม     เจดีย์หลวงและทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากวัดพระธาตุลำปางหลวงมาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์หลวง


                                            พญายอดเชียงราย (พ.ศ. 2030 – 2038)  ทรงเป็นโอรสของท้าวบุญเรือง โอรสองค์เดียวของพระเจ้าติโลกราช พญายอดเชียงรายปกครองบ้านเมือง 8 ปี แต่ไม่มีชื่อเสียงเป็นทีรู้จัก  ชินกาลมาลีปกรณ์เป็นหลักฐานที่กล่าวถึงพระองค์มากกว่าหลักฐานชิ้นอื่น ก็ระบุว่าพระราชกรณียกิจแต่เพียงว่าทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าติโลกราช  ณ วัดมหาโพธาราม ครั้นถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ทรงสร้างสถูปใหญ่บรรจุพระอัฐิไว้ที่วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด)


                                            พญาแก้ว (พ.ศ. 2038 – 2068)  ทรงเป็นโอรสของพญายอดเชียงราย โดยทำสงครามกับอยุธยา ณ บริเวณหัวเมืองชายแดน พ.ศ.2050 พญาแก้ว่สงกองทัพตีเมืองสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นสงครามกับอยุธยาก็เกิดขึ้นหลายครั้ง จนหลังพ.ศ.2058 พญาแก้วก็ไม่ได้ส่งทัพไปตีอยุธยาอีก และทางอยุธยาก็ไม่ได้ส่งทัพมาตีล้านนาเช่นกัน


                                            ภายหลังสิ้นสมัยของพญาแก้ว (พ.ศ.2038 – 2068)  อาณาจักรล้านนาเริ่มแตกแยก เกิดการแย่งชิงสมบัติกัน
บ่อยครั้ง อำนาจการปกครองได้ตกไปอยู่กับบรรดาขุนนาง เสนา อำมาตย์ ซึ่งสามารถที่จะแต่งตั้งหรือถอดถอนกษัตริย์ได้  ความขัดแย้งแตก
แยกนี้ทำให้พม่าโดยพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ใช้เวลาเพียง 3 วันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้อย่างง่ายดาย และ


ได้ใช้เชียงใหม่เป็นฐานทัพในการเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา ต่อไป จนสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อ
ปี พ.ศ.2112
                                            เมื่อถึงสมัยธนบุรี  ผู้นำล้านนา ได้แก่พระเจ้ากาวิละ และพญาจ่าบ้าน (บุญมา)  ต้องการเป็นอิสระจากการยึดครอง
พม่า ซึ่งได้ยึดครองสมัยพม่ายกทัพเข้าตึกรุงศรีอยุธยา  จึงได้สวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน  ขอกำลังสนับสนุนไปตีเชียงใหม่  สามารถ
ยึดเมืองเชียงใหม่กลับคืนมาได้ เมื่อ พ.ศ. 2317  สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าให้เจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปาง  พญาจ่าบ้านเป็น
เจ้าเมืองเชียงใหม่
                                            ตอนปลายสมัยธนบุรี เมืองเชียงใหม่ถูกทิ้งร้างจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ ได้โปรดเกล้าให้พระเจ้ากาวิละไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ แทนพญาจ่าบ้านที่เสียชีวิตลง   จนถีง พ.ศ. 2347 กองทัพล้านนาได้ร่วมกับกองทัพจากกรุงเทพฯ (รัตนโกสินทร์) ช่วยกันบขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ  ทำให้ล้านนาหลุดพ้นจากการยึดครองของพม่าได้สำเร็จ
                                            ล้านนาเป็นประเทศราชของไทย (กรุงรัตนโกสินทร์ฯ ) เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ฯ ได้ประกาศรวมอาณาจักรล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ฯ โดยสถาปนาเป็น “มณฑลพายัพ” ของกรุงรัตนโกสินทร์ฯ เมื่อ พ.ศ. 2442






           

อาณาจักรละโว้



       เมืองละโว้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางฝั่งตะวันออก เมื่อเริ่มแรกในพุทธศตวรรษที่ 12 ก็มีคติความเชื่อเป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาทเหมือนกับบ้านเมืองทางฝั่งตะวันตก และได้ขยายอาณาเขตขึ้นไปตามลำน้ำปิง โดยจัดตั้งเมืองหริภุญไชยขึ้น (ซึ่งภายหลังคือเมืองลำพูน) บนที่ราบหว่างหุบเขาอันกว้างใหญ่ที่ต้นแม่น้ำปิงเป็นเมืองสืบต่อมา และถ่ายทอดอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทให้แก่ราชวงศ์พระเจ้ามังราย ที่เข้ามาครอบครองในภายหลัง
คำว่าละโว้นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ซึ่ง ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า ลวะ ในสันสกฤตแปลว่า น้ำ (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก "ลโวทัยปุระ" ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา
เมืองละโว้ได้รับคติทางศาสนาพราหมณ์จากราชอาณาจักรขอมกัมพูชา [1] และพุทธศาสนาแบบมหายานที่ขึ้นมาจากทางทิศใต้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 คติความเชื่อทั้งสองนั้นเข้ากันได้และส่งเสริมการปกครองบ้านเมืองที่รวมกันเป็นราชอาณาจักรใหญ่ ดังนั้น เมืองละโว้จึงเป็นเมืองที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์ไปถึงบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือเมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา เมืองพนมรุ้ง ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเมืองพระนครหลวง ในกัมพูชา ซึ่งทั้งเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้งต่างก็มีศิลาจารึกที่แสดงอำนาจความเป็นอิสระของการเป็นเมืองหลวงปกครองดินแดนในละแวกใกล้เคียงในระดับหนึ่งด้วย ส่วนเมืองละโว้นั้น ในช่วงเวลานี้มีเอกสารประเภทตำนานที่แสดงถึงการแตกแยก ที่ทำให้เมืองหริภุญไชยซึ่งมีเมืองในอาณัติ คือ นครเขลางค์ แยกออกไปปกครองตนเองโดยอิสระ เป็นอีกแว่นแคว้นหนึ่งที่ต้นแม่น้ำปิง
ในระยะเวลาต่อมา เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด

        เมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งที่อาจกล่าวว่าอยู่ในขอบเขตใกล้ทะเลอ่าวไทย คือ เมืองศรีมโหสถแห่งลุ่มน้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตอำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองที่มีศาสนสถานเป็นจำนวนมาก โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองนี้อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 แต่โบราณสถานที่เป็นของเมืองนี้อย่างแน่นอน และเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้น คือ รอยพระพุทธบาทคู่ที่วัดสระมรกต ซึ่งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองศูนย์กลางปกครองดินแดนใกล้เคียงสืบต่อกันมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 จึงได้กลายเป็นเมืองในราชอาณาจักรขอมกัมพูชา ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมืองพระนครหลวง และมีหลักฐานแสดงการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

 เมืองละโว้มีบทบาทก่อให้เกิดเมืองหลวงขึ้นในประวัติศาสตร์ไทยอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองสุโขทัย ที่ขึ้นไปจัดตั้งไว้ที่ตอนบนของที่ราบฝั่งแม่น้ำยม เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้นไม่นาน สุโขทัยก็แยกตัวออกเป็นอิสระอีกแว่นแคว้นหนึ่งเช่นเดียวกับเมืองหริภุญไชย เรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 วัดศรีชุม เรื่องพ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพง อาจเป็นเรื่องราวตอนที่สุโขทัยแยกตัวออกจากเมืองละโว้ก็ได้ ส่วนเมืองละโว้นั้น ก็ได้มีการขยับขยายราชธานีลงทางใต้ ตั้งบ้านเมืองในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สายคือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลมาบรรจบกัน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเมืองสุพรรณภูมิ ต่อมาก็ได้จัดตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงในที่สุด

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาณาจักรฟูนัน


        อาณาจักรฟูนัน[1]เป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 6 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย

     เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาหน้าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ

สังคมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมเผ่า (Tribal Society) ต่อมาพัฒนาเป็นสังคมรัฐ (Social State) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ตัวอย่าง คือ ฟูนาน เดิมเป็นหมู่บ้าน ต่อมาขยายออกไปเพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องขยายที่เพาะปลูกให้พอกินพอใช้กับจำนวนชุมชนที่ขยายขึ้น ได้พยายามหาเทคโนโลยีการเกษตร มาช่วย เช่น ขุดคูคลองกั้นน้ำ เพื่อให้อยู่ดีและมีอาหารพอเพียงต่อมาเริ่มมีโครงร่างของสังคมดีขึ้น จึงพัฒนามาเป็นรัฐ เหตุที่ฟูนานพัฒนาเป็นรัฐได้นั้น มีผู้แสดงความเห็นไว้ เช่น เคนเนธ อาร์ ฮอลล์ กล่าวว่า เป็นเพราะฟูนานมีการพัฒนาในเรื่องการเพาะปลูกอย่างมาก และที่สำคัญอีก คือ ฟูนานมีเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล พร้อมทั้งได้ยกข้อคิดเห็นของ โอ.ดับบลิว.โวลเดอร์ (O.W.Wolter) ที่กล่าวถึงการพัฒนาการจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐว่า เป็นเพราะลักษณะทางการค้า และสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวย โดยเฉพาะที่เมืองออกแก้ว (Oc-EO) เมืองท่าของฟูนานที่เรือต่าง ๆ ผ่านมาต้องแวะด้วย

ลักษณะของวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบผสมกันระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนาน ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ โบราณสถานของกัมพูชาสมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า ประติมากรชาวฟูนานได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาลวะ และราชวงศ์คุปตะ ทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู มีภาษาสันสกฤต ซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนานที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระเจ้าโกณธิญญะที่ 2 (สวรรคต ค.ศ. 434) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 478 – 514) ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว ยังปรากฏคำลงท้ายพระนามกษัตริย์ฟูนานว่า “วรมัน” ภาษาสันสกฤต แปลว่า “ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์” ที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ของอินเดียนิยมใช้กัน สิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนาน ฟูนานมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น เรื่องราวของฟูนานจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ ในฟูนานมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎรชาวฟูนานมีผิวดำ ผมหยิก เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก